ขนมจัดเบรก / snack box / ขนมจัดเลี้ยงงานต่าง ๆ
ขายส่งเครปเย็น เครปโรล (ราคากันเอง ไม่แพงจ้า)
แจ้งรายการส่งของลูกค้า(กระทู้)
ตรวจสถานะ ได้หลังจากฝากส่ง 24 ชม.โดยกรอกเลข 13 หลัก..ลงท้ายด้วย TH
* ไปรษณีย์ไทย (เช็คพัสดุ/EMS)
จำการเข้าใช้งาน
นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์(พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์)
พระประวัติเสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์
พระนามเดิมของพระองค์ท่าน คือ พระองค์เจ้าชายอาภากรเกียรติวงศ์เป็นพระราชโอรส ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาโหมดประสูติ เมื่อปีมะโรง เดือนอ้าย แรม ๓ ค่ำ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ การศึกษา เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ ถือกันว่าพระองค์เป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษา วิชาการแขนงนี้ในต่างประเทศพระองค์ได้ทรงศึกษา วิชาการด้วยพระอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง และตั้งปณิธานตนอย่างแรงกล้าที่จะทำ ให้ทหารเรือไทย มีความสามารถในการเดินเรือออกทะเล สามารถปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธวิธีได้อย่างดีโดยไม่ต้อง มีชาวต่างชาติเป็นผู้ บังคับการเรืออีกต่อไป
ราชการแผ่นดินเมื่อทรงสำเร็จการศึกษา ได้เข้ารับราชการในกองทัพเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงพัฒนา กิจการทหารเรือให้เจริญก้าวหน้ามากมาย อาทิ ทรงแก้ไขระเบียบการในโรงเรียนนายเรือทั้ง ฝ่ายปกครองและฝ่ายวิชาการ, ขอพระราชทานจัดตั้งโรงเรียนนายเรือที่บริเวณ พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๘ และ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จ เปิดโรงเรียนนายเรือในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงเป็นผู้วางโครงการจัดตั้งฐาน ทัพเรือที่สัตหีบ, ทรงทำแผนการทัพเรือ,ทรงจัดการศึกษาทางยุทธวิธี กระบวนรบในกองทัพเรือ ให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น, ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นแผ่นดินของรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดี และทรงให้ยก กรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ อีกด้วย, ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นนายพลเรือไทย และได้ทรงเลื่อนยศขึ้นเป็นนายพลเรือเอกในปีเดียวกัน, ทรงเป็นผู้แทนคณะกรรมการราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ออกไปจัดซื้อเรือรบหลวงพระร่วง ณ ประเทศ อังกฤษ และทรงเป็นผู้บังคับการเรือนำเรือรบหลวงพระร่วงเข้ามาสู่กรุงเทพพระมหานครโดยสวัสดิภาพ,พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศเป็น กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓ และทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ เนื่องจากพระองค์ท่านได้ทรงนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่กองทัพไทยอย่างอเนกอนันต์ เหล่าทหารเรือไทยจึงเคารพรักและพร้อม ใจกันถวายพระเกียรติของพระองค์ว่า พระบิดาแห่ง ราชนาวีไทย พระอุปนิสัยและพระราชกรณียกิจพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวง- ชุมพรเขตรอุดม ศักดิ์ทรงเป็นเจ้านายที่ไม่ถือพระองค์เลย โปรดที่จะเข้าไปคลุกคลีกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่าง ใกล้ชิดสนิทสนม บางครั้งก็โปรดที่จะพบปะวิสาสะกับราษฎรสามัญ โดยปลอมพระองค์เป็น ราษฎรธรรมดาแล้ว เสด็จไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงยา ฝิ่น โรงขายสุรา และโรงบ่อน ทำให้พระองค์ทรงรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระบรมชนกนาถอย่างยิ่ง ในทางพุทธศาสนา พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธามาก ถึงกับทรงขอเป็นศิษย์ของหลวง พ่อศุขวัดมะขามเฒ่า ( พระครูวิมลคุณากร ) จังหวัดชัยนาท อาจารย์ท่านนี้อยู่เสมอทรงสร้าง กุฏิไว้ในวังของพระองค์เพื่อเป็นที่พักอาศัยในคราวที่พระอาจารย์ลงมากรุงเทพฯ การฝึกหัดอบรม นักเรียนนายเรือเมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้สั่งสอนอบรม นักเรียนนายเรือด้วย พระองค์เองโดยตลอดได้ผลเป็นอย่างดียิ่ง เช่น การหัดแถว หัดยิงปืนใหญ่ สนาม การขึ้นเสาลงเสา การติดพรวน แต่งพรวน ฯลฯ พระองค์ทรงฝึกให้นักเรียนมีจิตใจ เข้มแข็ง และไม่กลัวโดยไม่มีเหตุผล ทรงดูแลทุกข์สุขของนักเรียนอย่างใกล้ชิด ทรงเสวยอาหาร เหมือนกับคนอื่น ๆไม่มีพิเศษแต่อย่างใด ทรงเคยรับสั่งว่า ฉันก็เป็นทหารคนหนึ่งเหมือนกัน จะกินอาหารพิเศษดีกว่าเพื่อนทหารทั้ง หลายไม่ได้ พระองค์ทรงโปรดกีฬามาก และมักให้ทหาร ทุกคนเล่นกีฬาเมื่อเลิกจากงานแล้ว ทำให้ทหารมีสุขภาพแข็งแรง และเป็น การปลูกฝังให้ทหาร ทุกคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอีกด้วย กีฬาที่โปรดให้เล่นคือ งูกินหาง ชกมวยทะเล แข่งเรือในทะเล และให้ทหาร ตีกรรเชียงแข่งกันเป็นคู่ ๆ พระกรณียกิจ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ พระองค์ทรงเป็น ผู้ริเริ่มตั้งแผนกฌาปนกิจขึ้นในราชนาวิกสภาอีกแผนกหนึ่ง โดยให้ สมาชิกชั้นสามัญสัญญาบัตร เสียเงินค่าบำรุง คนละ ๒ บาท พระองค์ทรงเป็นสมาชิกหมายเลขหนึ่งของแผนกนี้ ทรงได้ตั้งระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับทหารกองเกียรติยศ เพื่อเคารพศพตามชั้นของนายทหารวายชนม์ ซึ่งทางราชการกองทัพเรือได้ถือปฏิบัติมาจนตราบ ทุกวันนี้หมอพร
ระหว่างที่กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงลาออกจากกองทัพเรือคราวแรกเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ก่อนเสด็จกลับ เข้ารับราชการอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ในช่วงเวลา ๖ ปีที่มิได้ทรงรับราชการนี้ ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับวิชาแพทย์แผน โบราณ และ สมุนไพรไทยต่าง ๆ โดยทรงศึกษาตำรายาไทยกับพระยาพิษณุ ซึ่งเป็นหมอหลวงได้ทรง เรียน วิธีแยกธาตุและผสมยา จนเชี่ยวชาญ ยาของพระองค์มีสรรพคุณสูงสามารถรักษาโรค ต่าง ๆ ทรงเขียนตำราด้วยฝีพระหัตถ์ขึ้น ๒ เล่มกล่าวถึงการผสมยา แก้โรคต่างๆ พระองค์ทรงรับ รักษาคนทั่วไปไม่ว่าคนมีคนจน เป็นที่ร่ำลือกันว่า พระองค์รักษาโรคได้ฉมังนักและไม่คิดมูลค่า เป็นเงิน ทองด้วย ทรงรักษาคนจีนที่อยู่สำเพ็ง จนคนจีนเหล่านั้นนับถือพระองค์มากอยากทราบชื่อ พระองค์ทรงรับสั่งให้เรียกว่า หมอพร เป็นที่เลื่องลือไปทั่วกรุงว่าเป็นหมอพรผู้วิเศษ รักษาความป่วยไข้ให้หายขาดได้
สมรสพระราชทานพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงสู่ขอหม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์พระธิดาของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช มาพระราชทานเสกสมรส ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานมงคลพิธี ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ พระองค์ท่านทรงมีพระโอรสและพระธิดารวม ๙ พระองค์ ดังนี้๑. พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระองค์เจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา(พระมารดาคือ หม่อมเจ้าหญิงทิพย- สัมพันธ์) ๒. พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังสิยากร อาภากร (พระมารดาคือหม่อมเจ้าหญิงทิพยสัมพันธ์)๓. หม่อมเจ้าหญิงจารุพัตรา (พระมารดาคือหม่อมกิม) ๔. หม่อมเจ้าหญิงศิริมาบังอร (พระมารดาคือหม่อมแฉล้ม) ๕. เรือเอกหม่อมเจ้าสมรบรรเทิง อาภากร (พระมารดาคือหม่อมเมี้ยน) ๖. หม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง (พระมารดาคือหม่อมกิม) ๗. พันเอกหม่อมเจ้าดำแดงฤทธิ์ อาภากร (พระมารดาคือหม่อมแฉล้ม) ๘. พลเรือเอกครรชิตพล อาภากร (พระมารดาคือหม่อมช้อย) ๙. หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร (พระมารดาคือหม่อมแจ่ม)
สิ้นพระชนม์ ตำแหน่งสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์คือ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และทรง ดำรงตำแหน่งอยู่เพียง ๔๗ วันเท่านั้น เนื่องจากพระองค์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวร พระโรคภายใน จึงได้กราบถวายบังคมลาราชการออกไปตากอากาศเพื่อพักผ่อน รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่ด้านใต้ปากน้ำเมืองชุมพรซึ่งเป็นที่ที่พระองค์ทรงจอง ไว้เพื่อทำสวนมะพร้าว ขณะที่ประทับอยู่จังหวัดชุมพรนี้ พระองค์ ประชวรเป็นพระโรคไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากฝน ประชวรอยู่เพียง ๓ วัน ก็สิ้นพระชนม์ ใน วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชนมายุได้ ๔๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรือรบ หลวงพระร่วงไปรับพระศพ มาประดิษฐาน ณ วังของพระองค์ท่าน และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
ขอขอบคุณ เว็บไซท์ที่เกี่ยวข้องพระประวัติ ตราประจำตระกูล การศึกษาเมื่อทรงพระเยาว์ รัชกาลที่ ๕ วางรากฐานราชนาวีไทย ชีวิตนักเรียนนายเรืออังกฤษบันทึกเสด็จในกรม คณาจารย์เสด็จในกรม คำสอนเสด็จเตี่ย ตราด ร.ศ.๑๑๒ รูปภาพ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์รวบรวมโดย คุณพิริยะ ตระกูลสว่าง
พระราชประวัติพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดย วัดเขตอุดมศักดิ์วนาราม หาดทรายรี ตำบลปากน้ำ จังหวัดชุมพร
❮ กลับหน้าแรก หมวดรวมบทความน่าสนใจ ❯