ขนมจัดเบรก / snack box / ขนมจัดเลี้ยงงานต่าง ๆ

ขายส่งเครปเย็น เครปโรล (ราคากันเอง ไม่แพงจ้า)

   บ้านส้มซ่าเบเกอรี่ (เวอร์ชั่นใหม่)  
หน้าแรก กระดานข่าว สมุดเยี่ยม ดาวน์โหลด แผนที่เว็บ - หน้ารวมสูตรอาหาร
   เรียนทำเบเกอรี่ภูเก็ต »15«   
   อาหารไทย - กับข้าว »73«  
   ขนมไทย »21«  
   ขนมปัง »20«  
   ขนมเค้ก/คัพเค้ก/มัฟฟิน »30«
   ขนมอร่อยไม่ต้องอบ »14«  
   ขนมหวานอื่น ๆ »33«  
   คุกกี้/บราวนี่ »28«  
   ชีสเค้ก/ชีสพาย »5«  
   ทาร์ต/พาย/โดนัท »5«  
   แต่งหน้าเค้ก »7«  
   อุปกรณ์ทำขนม »10«  
   อาหารญี่ปุ่น »12«  
   อาหารเพื่อสุขภาพ »4«  
   อาหารว่าง/ของทานเล่น »17«  
   อาหารเด็ก »1«  
บทความเกร็ดความรู้
   เกร็ดความรู้ก้นครัว »11«  
   เกร็ดความรู้สุขภาพ »28«  
   ประวัติขนมและอาหาร »8«  
   รวมบทความน่าสนใจ »51«  
   เคล็ดลับผู้หญิงกับเงิน »9«  
 

แจ้งรายการส่งของลูกค้า(กระทู้)

ตรวจสถานะ ได้หลังจากฝากส่ง 24 ชม.
โดยกรอกเลข 13 หลัก..ลงท้ายด้วย TH

* ไปรษณีย์ไทย (เช็คพัสดุ/EMS)

 
 
แนะนำเว็บนี้ให้เพื่อนรู้ แนะนำเว็บนี้ให้เพื่อนรู้
Add to Favorites Add to Favorites (IE) !!
กรอก Email เพื่อรับหลักสูตรตารางเรียนใหม่ รวมถึงสูตรขนมและอาหาร ฟรี !! (ช่องด้านล่าง)

feedburner

 
 
สำหรับสมาชิก

จำการเข้าใช้งาน


คนคุ้นเคย : 0
 
คนหลงทาง : 1
 
สถิติการเยี่ยมชม
  
มาดูวันนี้ :41
มาดูเมื่อวานนี้ :11
มาดูต่อวันสูงสุด :12,441
มาดูเดือนนี้ :383
มาดูทั้งหมด :14,104,696
 
 
ขณะนี้คุณกำลังอยู่ที่ :  ส้มซ่าดอทคอม » รวมบทความน่าสนใจ » นางสงกรานต์


นางสงกรานต์ (History of Songkran Festival)


นางสงกรานต์

นางสงกรานต์ (History of Songkran Festival)

ประเพณีสงกรานต์ของชนชาติไทในอุษาคเนย์ ส่วนใหญ่มักมีตำนานหรือเรื่องเล่า กล่าวถึงความเป็นมาที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องของตัวละครที่มีนางทั้งเจ็ดหรือสิบสองคน ผลัดกันอุ้มศีรษะของพระพรหม ยักษ์ มาร หรือปีศาจในแต่ละปี

songkran festival

ในคัมภีร์ปฐมกัปป์ของไทเขิน กล่าวถึงการสร้างโลกของพระพรหม ขณะนั้นพระพรหมมีธิดาอันเกิดจากเหงื่อไคลของพระพรหมจำนวน ๗ นาง ครั้งหนึ่งพระอินทร์เกิด วิวาทะกับพระพรหม ได้ใช้กลอุบายให้ธิดาทั้งเจ็ดหาวิธีตัดเศียรพระพรหม โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าถ้าทำสำเร็จจะยกย่องให้เป็นชายา พรหมธิดาทั้งเจ็ดพยายามอยู่หลายวิธี ในที่สุด ธิดาคนสุดท้องก็สามารถตัดเศียรพระพรหมได้โดยใช้เส้นผมเป็นอาวุธ และด้วยเหตุที่ว่าเศียรของพระพรหมนั้นร้อนแรงดุจไฟโลกันต์ไม่อาจทำให้ตกถึงพื้นปฐพีได้ นางทั้งเจ็ดจึงสลับผลัดเปลี่ยนเวียนกันอุ้มเป็นปี ๆ ไป

ตำนานสงกรานต์ของชาวไทใหญ่เล่าไว้สองเรื่อง เรื่องหนึ่งบอกว่า พระอินทร์กับอสิพรหมถกเถียงกันว่าระหว่างศีลกับทานสิ่งใดเป็นยอดของบุญ เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงลงมาโลกมนุษย์เพื่อให้พราหมณ์ที่ชื่อ "กะลาไมเอง" เป็นผู้ตัดสิน หากใครแพ้จะถูกตัดศีรษะ กะลาไมเองตัดสินว่าศีลเป็นยอดของบุญ พระอินทร์เป็นฝ่ายชนะ อสิพรหมจึงถูกตัดศีรษะ แต่ศีรษะของอสิพรหมเป็นอันตรายมาก หากตกในมหาสมุทรน้ำจะเหือดแห้ง ตกบนแผ่นดินจะแล้งทั่วทั้งโลก พระอินทร์จึงมอบศีรษะของอสิพรหมให้นางฟ้า ๗ นาง ผลัดเปลี่ยนกันอุ้มไว้มิให้ตกตลอดไป อีกตำนานเล่าว่า ในอดีต ครั้งเมื่อมีการสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวอื่นๆ ขุนอินทร์ (พระอินทร์) และขุนสาง (พระพรหม) มีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการกำหนดแม่ปีว่าควรจะมี ๑๒ ปี หรือ ๖๐ ปี จึงลงมาให้มนุษย์ชื่อ "กาละไม้" ตัดสิน กาละไม้ให้ขุนอินทร์เป็นฝ่ายชนะ ขุนสางจึงถูกตัดศีรษะ ขุนอินทร์ทราบว่าศีรษะของขุนสางร้อนแรงมากจึงมอบให้ "นางผี" (เทวดา) ๗ นาง ผลัดกันอุ้มศีรษะของขุนสางไว้

ชาวไทลื้อมีนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับการตัดศีรษะเช่นกัน แต่ผู้ถูกตัดนั้นมิได้เป็นพระพรหมแต่กลับเป็นยักษ์ มารและปีศาจ เรื่องที่เป็นยักษ์เล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง รุกล้ำเข้าไปทำร้ายผู้คนชาวเมืองพาราณสี และได้จับเอาสาวงามไปเป็นเมียถึง ๗ คน ต่อมาเมียคนที่เจ็ดได้โอกาสใช้เส้นผมของยักษ์ตัดคอยักษ์ตาย เรื่องที่เป็นมารนั้นเล่าว่าพระยามารผู้หนึ่งดุร้ายยิ่งนัก จึงเป็นที่เกลียดกลัวของคนทั่วไป แม้แต่เมียทั้ง ๑๒ คนก็เกลียดกลัว แต่ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะไม่มีผู้ใดล่วงรู้ถึงวิธีฆ่าพระยามาร ต่อมาเมียคนที่สิบสองออกอุบายมอมสุราและหลอกถามความลับ จนรู้วิธีฆ่า คือใช้เส้นผมของพระยามารตัดคอ เมื่อนางสบโอกาสจึงใช้เส้นผมตัดคอพระยามารสิ้นชีวิต ส่วนเรื่องที่เป็นปีศาจเล่ากันว่า มีปีศาจร้ายตน หนึ่งมีเมียเป็นมนุษย์ ๗ คน ปีศาจนั้นมีชีวิตเป็นอมตะ แต่มีวิธีฆ่าให้ตายอย่างเดียวคือ ใช้เส้นผมของปีศาจเองตัดคอ ครั้งหนึ่งเมียคนที่เจ็ดล่วงรู้ความลับและได้ฆ่าปีศาจตายในเวลาต่อมา นิทานพื้นบ้านดังกล่าวต่างสรุปท้ายว่าศีรษะของยักษ์ก็ดี มารและปีศาจก็ดี ต่างตกถึงพื้นดินไม่ได้เพราะมีความร้อนแรง อาจเผาไหม้โลกให้เป็นจุณ ดังนั้นเมียของยักษ์ มารและปีศาจจึงต้องสับเปลี่ยนกันอุ้มศีรษะของผู้เป็นผัวโดยตลอด

ในส่วนของไทยโดยเฉพาะในภาคกลางมีตำนานกล่าวถึงโดยละเอียดว่า ยังมีเศรษฐีคนหนึ่งอยู่บ้านใกล้กับนักเลงสุรา วันหนึ่งนักเลงสุราเข้าไปสู่บ้านเศรษฐีพร้อมกล่าวคำผรุสวาทหยาบคายต่าง ๆ นานา เศรษฐีจึงกล่าวว่า เรานั้นมีสมบัติเป็นอันมาก ทำไมท่านจึงมากล่าวคำหยาบช้าต่อเรา นักเลงสุราตอบว่า แม้ท่านจะมีทรัพย์แต่หาบุตรมิได้ สู้เราไม่ได้แม้ไร้ทรัพย์แต่ก็มีบุตรสืบตระกูล เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็เกิดความละอายจึงทำพิธีบวงสรวงขอบุตรต่อรุกเทวดาที่สถิต ณ ต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำ รุกขะพระไทรได้ไปขอบุตรจากพระอินทร์ ซึ่งพระอินทร์ก็ได้ให้ธรรมบาลเทวบุตรลงมาเกิด เมื่อธรรมบาลอายุได้ ๗ ขวบก็เรียนจบไตรเพทรู้ภาษาของสัตว์ทั้งมวล จึงได้รับยกย่องเป็นอาจารย์บอกมงคลการต่างๆ แก่มนุษย์โลก ขณะเดียวกันมนุษย์ก็นับถือท้าวกบิลพรหมผู้เป็นองค์บอกมงคลแก่ชาวโลกด้วย เมื่อท้าวกบิลพรหมทราบความจึงลงมาท้าทายธรรมบาลโดยถามปัญหา ๓ ข้อ คือ เวลาเช้า กลางวันและกลางคืนศรีของมนุษย์อยู่ที่ใด ถ้าธรรมบาลตอบไม่ได้จะถูกตัดศีรษะ หากตอบได้ท้าวกบิลพรหมจะยอมตัดศีรษะบูชา ธรรมบาลขอผัดเวลาไป ๗ วัน เวลาผ่านไป ๖ วันแล้วธรรมบาลยังคิดหาคำตอบไม่ได้ จึงไปนอนไตร่ตรองอยู่ใต้ต้นตาล ขณะนั้นมีนกอินทรีสองผัวเมียทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น นางนกอินทรีได้ถามผัวว่าพรุ่งนี้จะไปหาอาหารที่ไหน ผัวก็ตอบว่าจะไปกินซากศพของธรรมบาลเพราะธรรมบาลตอบปัญหาไม่ได้ และคำตอบของปัญหาก็ง่ายนิดเดียว คือ ศรีของมนุษย์ตอนเช้าอยู่ที่ใบหน้า กลางวันอยู่ที่หน้าอก และกลางคืนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างหน้าตอนเช้า เอาน้ำลูบอกตอนกลางวัน และล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลได้ยินดังนั้นก็จำได้ รุ่งขึ้นวันที่เจ็ดก็สามารถตอบปัญหาได้ทั้งหมด ท้าวกบิลพรหม ก่อนตัดศีรษะได้เรียกธิดาทั้งเจ็ด คือนางทุงษะ โคระ รากษส มณฑา กิริณี กิมิทาและนางมโหธรบอกว่าศีรษะของเราหากตกลงบนแผ่นดินไฟก็จะลุกไหม้โลกธาตุ โยนไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง ตกในมหาสมุทรจะเหือดแห้งโดยพลัน ดังนั้นจงผลัดกันเอาพานมารับแล้วให้เทพบริวารแห่เวียนประทักษิณเขาพระสุเมร ครั้นถึงวาระครบ ๓๖๕ วัน ในวันสงกรานต์ ให้ทรงเทพพาหนะต่าง ๆ เชิญศีรษะเราออกแห่ทุกปี

เรื่องราวของนางต่างๆ ที่กล่าวมา สำหรับล้านนานั้น ไม่มีเรื่องเล่า แต่มีการกล่าวถึงการเคลื่อนไปของสุริยเทพคือขุนสังขานต์และมีนางเทวดามารอรับเอา นางเทวดาดังกล่าวมีเจ็ดนางได้แก่ นางแพงสี มโนรา มัณฑะ สุรินทะ กัญญา รัตตา และนางยามา นางเทวดาเหล่านี้มีหน้าที่มารับเอาขุนสังขานต์ ซึ่งแต่ละนางจะมารับด้วยอาการประจำของตน กล่าวคือ นางแพงสี นางมัณฑะ นางสุรินทะและนางยามาจะยืนรอรับ นางมโนราจะนอนรอรับและนางกัญญาจะรอรับด้วยอาการคุกเข่า

จากเรื่องราวของนางต่างๆ ที่นำเสนอโดยสังเขป ล้วนเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายการเคลื่อนไปของเวลาในช่วงหนึ่งที่เรียกว่า "สงกรานต์" แม้ในชนชาติอื่น ๆ จะไม่กล่าวชัดเจนด้านการให้ชื่อ แต่ชนชาติไทในสยามประเทศภาคกลางก็ระบุว่านางที่ปรากฏมีชื่อว่า "นางสงกรานต์" และเมื่อประมวลจากการปฏิบัติ ก็ไม่ปรากฏว่าชนไทชาติกลุ่มใดจะนำเอานางเหล่านั้นมาแสดงในรูปขบวนแห่จะมีเฉพาะคนไทยภาคกลาง ทั้งนี้อาจเป็นกิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นเพื่อจำลองตำนานให้เป็นเรื่องราวเชิงการแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

การแห่นางสงกรานต์เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครก่อน จังหวัดอื่น ๆ โดยเฉพาะเชียงใหม่ก็ปฏิบัติตาม ด้วยเห็นว่างดงามและน่าส่งเสริม แต่การแห่ดังกล่าวนั้น ได้ภาพจำลองจากปฏิทินบัตรประกาศสงกรานต์ของภาคกลาง แม้กระทั่งในลาวเองก็ยึดปฏิบัติ เมื่อได้ภาพชัดจากเชียงใหม่ แต่ให้ชื่อว่า "นางสังขานต์"

ดังนั้น หากจะดูนางสงกรานต์ ก็คงต้องดูจากภาพในปฏิทินบัตรหรือดูจากขบวนแห่นางสงกรานต์ที่นิยมกันทั่วไทยในปัจจุบันนี้.

สนั่น ธรรมธิ
สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดยจรัสพันธ์ ตันตระกูล)

คำค้นหาหน้านี้ นางสงกรานต์ (History of Songkran Festival) (5 รายการล่าสุด)

  • April 15, 2018 at 7:44 AM - นางสงกรานต์ ยักษ์ (223.24.181.62 via Google)
  • September 9, 2015 at 8:23 AM - นางสางไทบ (134.196.116.34 via Bing)
  • August 29, 2015 at 11:00 PM - นางสังขาน2015 (82.145.211.36 via Bing)
  • May 21, 2015 at 5:46 AM - นาง สาง ไท บ (58.10.4.37 via Bing)
  • April 30, 2015 at 3:42 PM - นางสังขาน2015 (107.167.102.163 via Bing)
นางสงกรานต์

นางสงกรานต์ (History of Songkran Festival)


นางสงกรานต์ (History of Songkran Festival) , หมวด รวมบทความน่าสนใจ
วันที่ปรับปรุง : 8 เมษายน 2551 23:19 น.
วันที่เขียน : 8 เมษายน 2551 00:00 น.
ผู้เยี่ยมชม นางสงกรานต์ ทั้งหมด 33,033 x คนดู
โหวตให้คะแนน (0 votes, average: 0 out of 5)