ขนมจัดเบรก / snack box / ขนมจัดเลี้ยงงานต่าง ๆ
ขายส่งเครปเย็น เครปโรล (ราคากันเอง ไม่แพงจ้า)
แจ้งรายการส่งของลูกค้า(กระทู้)
ตรวจสถานะ ได้หลังจากฝากส่ง 24 ชม.โดยกรอกเลข 13 หลัก..ลงท้ายด้วย TH
* ไปรษณีย์ไทย (เช็คพัสดุ/EMS)
จำการเข้าใช้งาน
ขนมไทยทำไม่ยากมีมาฝากอีกแล้วค่ะ จริง ๆ เมนูนี้ถือเป็นการถนอมอาหารวีธีนึงด้วยนะจ๊ะ แถมอร่อย เก็บไว้ทานได้งาน ทำไม่ยาก บ้านใครเนื้อมะพร้าวเหลือเยอะ ลองทำมาทำดูได้ค่ะ ^^”
ก่อนอื่นต้องเล่าถึงที่มาของมะพร้าวก่อนน้า.. พอดีช่วงเดือนที่ผ่านมาส้มไม่ค่อยสบายค่ะ ไปหาคุณหมอ ๆ บอกว่าเสี่ยงจะเป็นโรคฮิตของชาวใต้ 555 (ชิกุลคุณยา) เมื่อไม่สบายเลยต้องโดดงาน เอ้ย! หยุดพักฟื้น อิอิ พี่ ๆที่ทำงานเค้าเลยเป็นห่วงค่ะ เลยซื้อมะพร้าวมาให้เยอะเลย (หากเป็นชิกุลต้องทานน้ำมะพร้าวกะยาเขียวค่ะ ส้มต้องกินทุกวันเลยอะ 555) ปล. ส้มไม่ได้เป็นชิกุลนะจ๊ะ เป็นไข้หวัดธรรมดาจ้า^^” มะพร้าวที่ได้มา คุณแม่ประยงค์เค้าจะปลอกเปลือกสีเขียว ๆ ออกหมด เค้าบอกว่าเวลาแฉะจะได้ง่าย ๆ อะ (เอ้า ต้องเชื่ออดีตเจ้าของสวนพร้าวหน่อยค่ะ) เมื่อเอาน้ำไปละลายยาเขียวหมด ก็เหลือแต่เนื้อซึ่งไม่ค่อยจะอ่อนนักค่ะ คุณแม่เค้าเลยนำมาทำ เมนูตัวนี้ (ตามแบบของเค้า)
ส่วนผสม
1. เนื้อมะพร้าวทึนทึก 5-600 กรัม2. น้ำใบเตยเข้มข้น ½ ถ้วย3. น้ำตาลทราย ½ กิโล
ลุยกันเลยค่ะ
1. ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ รู้จักมะพร้าวทึนทึกกันรีป่าว (ส้มเองก็ไม่ได้รู้จักมากนักค่ะ^^”) แต่คิดว่า มะพร้าวทึนทึกคือ มะพร้าวที่ไม่อ่อน และไม่แก่จนเกินไป ซึ่งพอที่ได้มาก็คือเจ้านี่ค่ะ (คุณแม่เค้าควักจากลูกมะพร้าวที่ทานน้ำหมดแล้ว แพ็คใส่ถุงแช่เย็นไว้ค่ะ คือสะสมไว้ก่อน ที่เห็นประมาณ 4 ลูกหรือ 5 เกือบ 600 กรัมค่ะ ได้เนื้อเยอะมาก)
2. นำเนื้อมะพร้าวที่ได้ มาล้างให้สะอาด จากนั้นเฉือนเอาเปลือกมะพร้าวที่ติดอยู่ออกให้หมดเลยค่ะ จะได้มะพร้าว ขาว ๆ น่าทาน คุณแม่นำมาหั่นบาง ๆ ค่ะ (คือต้องบอกก่อนว่าอันนี้คือทำตามแบบบ้าน ๆ เลยนะจ๊ะ เป็นการถนอมอาหารประจำบ้าน เดี๋ยวเพื่อน ๆ บางคนจะสังสัยว่าทำไมไม่เหมือนเค้าขาย^^” ตามแตกต่างคือความอร่อยค่ะ เราไม่จำเป็นต้องทำให้เหมือนใคร รู้จักสร้างความต่าง สตางค์ก็จะตามมาค่ะ อิอิ ว่าไปนั่น)
3. การหั่นอย่าหั่นหนามากนะจ๊ะ เวลาทานจะแข็งไป ไม่อร่อย หั่นบาง ๆ พักไว้ค่ะ
4. มาคั้นน้ำใบเตยกันค่ะ พอดีที่บ้านปลูกเตยหอมไว้ในเนื้อที่อันน้อยนิด ^^” นำใบเตยหอมประมาณ 10 ใบ มาหั่น+คั้นผสมกับน้ำต้มสุก เอาแบบเข้มข้นให้ได้ประมาณ ½ ถ้วยนะจ๊ะ
5. นำกะทะ หากเพื่อน ๆ ไม่มีกะทะทองไม่เป็นไรนะจ๊ะ เอาหม้อหรือกะทะธรรมดาก็ได้อะ ตั้งไฟกลาง ใส่น้ำใบเตยสด ตามด้วยน้ำตาลทรายลงไปค่ะ
6. ตั้งไฟ และคนไปเรื่อย ๆ รอจนน้ำตาลลายหมดค่ะ
7. น้ำตาลละลายหมดแล้วเริ่มเดือด(สังเกตที่ขอบ ๆ จะขึ้นฟอง ๆ )^^’
8. ใส่มะพร้าวลงไปเลยจ้า.. (หมดเลย)
9. ค่อย ๆ ใช้พายไม้ ผัด ๆ คลุก ๆ ให้เข้ากันค่ะ ไม่ต้องตกใจเรื่องน้ำใบเตย(ที่ดูจะน้อยไป เมื่อเทียบกับมะพร้าวที่ค่อนข้างเยอะ เพราะอะไร... เดี๋ยวมีคำตอบค่ะ ^^”)
10. ก็เพราะว่าน้ำจากเนื้อมะพร้าวจะออกมาเองไงจ๊ะ การทำขนมไทยนั้นต้องใจเย็นและค่ะเพราะขนมบางชนิดใช้เวลาอยุ่หน้าเตาค่อนข้างนานมากกกก จะเห็นว่าน้ำเยอะเลยจาก ใช้พายไม้ค่อย ๆ คน และผัด ไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ค่ะ สีของขนมจะได้สวยเสมอกัน พอเดือด ลดไฟเหลือไฟอ่อนค่ะ
11. ทิ้งไว้(ไฟอ่อน) ประมาณ 40 นาที(ของกะทะทอง) แต่หากให้กะทะหรือหม้อธรรมดาลองสังเกตนะจ๊ะ ทิ้งไว้ให้น้ำกับน้ำตาลงวดค่ะ (อาจจะคนบ้างเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สีมะพร้าวเสมอกันค่ะ)
12. น้ำเริ่มงวด สีเริ่มสวย มะพร้าวดูแห้งขึ้นแล้วค่ะ สังเกตจากขอบกะทะทอง จะเห็นสีขาว ๆ มันคือเกล็ดน้ำตาลค่ะ พยายามให้พายไม้ปาดออกให้หมดนะจ๊ะ เพราะเดี๋ยวมันจะไหม้ แล้วกลิ่นมันจะไปปนกับมะพร้าวได้ค่ะ
13. หลังจากน้ำงวดขึ้นแล้วเราต้องเฝ้าหน้ากะทะแล้วใชพายไม้ผัด ๆ คลุกไปเรื่อย ๆ ค่ะ ทำต่อไปให้พอแห้ง ประมาณ 10-15 นาที ต้องผัดตลอดไปเรื่อย ๆ นะจ๊ะ ไม่งั้นอาจไหม้ได้ค่ะ หากสังเกตขอบกะทะ จะเห็นเกล็ดน้ำตาลมากขึ้น มะพร้าวจะออกเหนียว ๆ เหมือนเคลือบน้ำเชื่อมค่ะ อันนี้คือเกือบได้ที่แล้วละ เตรียมปิดแก๊สแล้วยกลง คนต่ออีกหน่อยได้เลยค่ะ
14. หากจะทำเป็นก้อนเล็ก ๆ ก็ตักมะพร้าวแก้วที่ได้ วางบนถาด หรือกระดาษแก้วเป็นก้อน ๆ แบบนี้นะจ๊ะ (มะพร้าวจะออกเหนียวๆ และร้อน(มาก)) ต้องทำตอนร้อนนะจ๊ะ หากเย็นแล้วมะพร้วจะไม่เกาะแล้วค่ะ ^^” แต่แม่เค้าทำแค่ก้อนเดียวเอง (ทำให้ดู^^’)
15. ส่วนที่เหลือ เค้าพักไว้ให้อุ่น ๆ แล้วใช้พายไม้ผัด ๆ (ไม่ได้วางบนเตาแล้วนะ) มันจะเริ่มเย็นขึ้น แห้งขึ้น แต่จะไม่เกาะตัวกันค่ะ คือมะพร้าวจะเคลื่อบน้ำตาล (ตกทราย) หมดอะ
16. ตักมาชิมค่ะ^^” จะเห็นจากมือส้ม มะพร้าวแก้วจะไม่เกาะเป็นก้อนค่ะ แต่จะแห้ง หวานกำลังดี(ไม่มากเพราะที่บ้านไม่ชอบทานหวาน^^”) หอมกลิ่นใบเตยมาก ๆ แบบไม่มีสีและกลิ่นสังเคราะห์มาช่วยด้วยค่ะ
17. ซูมให้เห็นเกล็ดน้ำตาลที่เคลือบอยู่ใกล้ ๆ ค่ะ (รับประกันว่าไม่หวาน) มะพร้าวแห้งกำลังดี ไม่แข็งค่ะ กรอบ ๆ หนึบ ๆ แบบอ่อนก็ไม่ใช่ แก่ก็ไม่เชิง เก็บใส่กระปุกได้นานหลายอาทิตย์เลยค่ะ แบบนี้จะทานง่าย อยากทานเท่าไหร่ตักใส่จาน หรือจะแจกก็แพ็คใส่ถุงผูกโบว์ก็ได้นะจ๊ะ ถือเป็นการถนอมอาหารที่ไม่ยาก ประหยัด และเป็นขนมแบบพอเพียงไว้ให้เด็ก ๆ ที่บ้านทานได้เลยค่ะ ลองทำดูนะจ๊ะ : ทำด้วยใจให้ด้วยรักคะ
❮ กลับหน้าแรก หมวดขนมไทย ❯